อริยวินัย

พุทธบัญญัต อริยวินัย

ประมวลพระพุทธบัญญัต

"อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธอ อย่างนี้ว่า ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว พวกเราไม่มีศาสดา ดังนี้
อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างน้ัน
อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาแก่พวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา."
"สิยา โข ปนานนฺท ตุมฺหากํ เอวมสฺส อตีตสตฺถุกํ ปาวจนํ นตฺถิ โน สตฺถาติ น โข ปเนตํ อานนฺท เอวํ ทฏฺฐพฺพํ โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา."
-มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.
ดาวโหลด พุทธวจน_เล่มที่_๑๙ / สุตฺตนฺตปิฏเก / ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์

ภายหลังพุทธปรินิพพานแล้ว

คราวหนึ่ง วัสสการพราหมณ์ได้ถาม พระอานนท์ว่า “ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหม ที่ท่านพระ- โคตมะได้ทรงแต่งตั้งไว้ว่า : เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุนี้จักเป็นที่พึ่งที่พำนัก ของเธอทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้ที่พวกท่านคอยแล่นเข้าหาอยู่ในบัดนี้ ?”<
พระอานนท์ตอบว่า

"ไม่มี และแม้แต่ภิกษุที่สงฆ์เลือกตั้ง ที่ภิกษุเถระ จำนวนมากแต่งตั้งเตรียมไว้ล่วงหน้าก่อนพุทธปรินิพพาน ก็ไม่มี แต่กระนั้น “ดูก่อนพราหมณ์ พวกเรามิใช่จะไร้ที่พึ่งพำนัก พวกเรามีที่พึ่งพำนัก คือ มีธรรมเป็นที่พึ่งพำนัก

ท่านอธิบายการมีธรรมเป็นที่พึ่งพำนักว่า
ดูก่อนพราหมณ์ สิกขาบท ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงรู้ผู้ทรงเห็นพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้ ปาติโมกข์ที่ทรงแสดงไว้ มีอยู่ ซึ่งเมื่อถึงวันอุโบสถ พวก ข้าพเจ้ามีจำนวนเท่าใดอาศัยเขตคามหนึ่งอยู่ ทั้งหมดทุกรูปนั้นก็จะมา ประชุม ณ ที่เดียวกัน ครั้นแล้วจะเชิญภิกษุรูปที่ทรงจำปาติโมกข์ได้คล่อง ให้สวดแสดง ถ้าขณะเมื่อสวดแสดงอยู่ ปรากฏภิกษุมีอาบัติคือมีโทษ ที่ล่วงละเมิด อาตมภาพทั้งหลายจะปรับโทษให้เธอปฏิบัติตามธรรม ตามคำอนุศาสน์ การที่เป็นดังนี้จะชื่อว่าพวกภิกษุผู้เจริญทั้งหลาย ทำการปรับโทษ ก็หามิได้ ธรรม (ต่างหาก) ปรับโทษ

และภิกษุที่เป็นหลัก ก็มีอยู่ตามคำอธิบายของท่านว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑๐ ประการ*
ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้ ผู้ทรงเห็น พระองค์นั้น ได้ตรัสไว้มีอยู่ ซึ่งในบรรดาอาตมภาพทั้งหลาย หากผู้ใดมีธรรมเหล่านั้น พวกอาตมภาพก็จะสักการะ เคารพ นับถือ บูชา อิงอาศัยท่านผู้นั้น เป็นอยู่

ภิกษุผู้ได้รับมอบหมายให้วินิจฉัยอธิกรณ์ (ตัดสินคดี) ต้องถือหลัก ปฏิบัติว่า พึงเป็นผู้เคารพสงฆ์มิใช่เคารพบุคคล พึงเคารพสัทธรรม (ความจริง ความถูกต้อง ความเป็นธรรม) มิใช่เคารพอามิส
(วินย.๘ / ๑๐๘๓ /๔๐๔) (๙)

* ม.อุ. ๑๔/๑๐๘ /๙๑ ปสาทนียธรรม ๑๐ นั้นคือ ๑.มีศีล, ๒.เป็นพหูสูต, ๓.สันโดษ, ๔.ได้ฌาณ๔, ข้อ๕-๑๐.มีอภิญญา๖

เนื้อแท้อันตรธาน

ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองศึกนี้มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริย์ ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นมาทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป). ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้ของตัวกลองหมดสื้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ ที่ทำเสริมเข้าใหมเท่านั้น;
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น;
ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุ ทั้งหลาย, สุตตันตะ (คำสอนส่วนที่ลึกซึ้ง) เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็น ข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำ สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว ของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เหล่านั้น มากล่าวอยู่ ; เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของ ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย เรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
(พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ ๑๖ / ๓๑๑ /๖๗๒)
พุทธวจน_ พึ่งตน พึ่งธรรม

อ่าน อริยวินัย