อริยสัจ

อริยสัจจากพระโอษฐ

เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ

ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง, เราและ พวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนาน ถึงเพียงนี้.
ภิกษุ ท. ! อริยสัจสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะ ไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจคือทุกข์, อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์, อริยสัจคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ และอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของ ทุกข์ ; เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาล ยืดยาวนานถึงเพียงนี้.

เรื่องควรทราบก่อนเกี่ยวกับจตุราริยสัจ

สัตว์โลก กับ จตุราริยสัจ ตรัสรู้แล้ว ทรงรำพึงถึงหมู่สัตว์ สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือดร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้า๑ ย่อมกล่าวซึ่งโรค (ความ เสียดแทง) นั้น โดยความเป็นตัวเป็นตน
เขาสำคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้นย่อมเป็น (ตามที่เป็นจริง) โดยประการอื่นจากที่เขาสำคัญนั้น

ภิกษุ ท. ! เมื่ออริยสัจ คือทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความดับไม่เหลือ ของทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, เป็นความจริงที่เราและ พวกเธอทั้งหลาย รู้ถึง และแทงตลอดแล้ว ; ตัณหาในภพ ก็ถูกถอนขึ้นขาด ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพ ก็สิ้นไปหมด บัดนี้ความต้องเกิดขึ้นอีก มิได้มี ; ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.
ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรม ๔ ประการ เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอด กาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้. ธรรม ๔ ประการ อย่างไหนเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งอริยศีล.... ซึ่งอริยสมาธิ.... ซึ่งอริยปัญญา....ซึ่งอริยวิมุตติ.... เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยว ไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.
ภิกษุ ท. ! เมื่ออริยศีล, อริยสมาธิ, อริยปัญญา, และอริยวิมุตติ เป็นธรรมที่เราและเธอรู้แล้วตามลำดับ แทงตลอดแล้ว; ตัณหาในภพก็ถูกถอนขึ้น ขาด ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพก็สิ้นไปหมด บัดนี้ความต้องเกิดขึ้นอีกมิได้มี, ดังนี้.
-จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑/๑.
สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ฝุ่นนิดหนึ่ง ที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า. ฝ่ ุนนิดหนึ่ง เท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย. ฝ่ ุนนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบ กับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค (ส่วนเสี้ยว)”.

พุทธวจน ๒ อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น

อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับ ไ่ม่เหลือแห่งทุกข์.