ตามรอยธรรม

พุทธวจน ตามรอยธรรม

วาเสฏฐะ !
พวกเธอแล มีชาติต่างกัน มีนามต่างกัน มีโคตรต่างกัน มีสกุลต่างกัน ออกบวชจากเรือนเป็นผู้ไม่หวังเกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว เมื่อถูกเขาถามว่า “พวกท่านเป็นใคร ?” ดังนี้ พวกเธอก็ปฏิญาณว่า

    เราทั้งหลาย เป็นสมณสากยปุตติยะ”ดังนี้. อนึ่ง ศรัทธาของผู้ใดแลตั้งมั่น ในตถาคต ฝังลงรากแล้ว ดำรงอยู่ได้มั่นคง อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลกก็ตาม ไม่ชักนำไปทางอื่นได้ ผู้นั้นควรที่จะกล่าวอย่างนี้ว่า “เราเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดโดยธรรม เนรมิตโดยธรรม เป็นทายาทโดยธรรม”ดังนี้.
-บาลี ปา. ที. ๑๑/๙๑/๕๕.
สุภัททะ !
ในธรรมวินัยนี้แล มีอริยมรรคมีองค์ ๘...
ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ พึงอยู่โดยชอบไซร้ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย. อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ. อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล.
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๗๕/๑๓๘. , -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐

เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระว่าเฉพาะเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
    จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ?” ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้, ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็จะทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้ ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง, หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่าง ของบุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่ (ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โน อุกฺกาจิตวินีตา); จัดเป็นบริษัทที่เลิศ แล.
ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอเป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม; ชนเหล่านั้น อันเธอพึง ชักชวนให้เข้าไปตั้งมั่น ในความจริงอันประเสริฐสี่ประการ
ด้วยปัญญาอันรู้เฉพาะตามที่เป็นจริง.
    ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ อะไรเล่า ? สี่ประการคือ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ , ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ , ความจริงอันประเสริฐคือทางดำ เนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๔/๑๗๐๖.

อ่าน ตามรอยธรรม